การเตรียมเพื่อการเลี้ยงนกกระจอกเทศ

ก.โรงเรือน
นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ที่ใช้ชีวิตในพื้นที่ป่าโปร่งเป็นทุ่งหญ้าพื้นที่ราบแถบทะเลทรายที่มีพืชอาหารสัตว์อุดมสมบูรณ์
มีพฤติกรรมในการวิ่งที่เร็วมาก อิสระในการใช้ชีวิตมีอยู่สูง และเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย
ดังนั้น พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงนกกระจอกเทศควรจะต้องเลือกพื้นที่ดังนี้
1. พื้นที่เป็นที่ดอน ไม่มีน้ำท่วมขัง สามารถปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับนกกระจอกเทศได้เป็นอย่างดี
2. ลักษณะดินควรเป็นดินร่วนปนทรายสามารถซึมซับน้ำลงสู่ใต้ดินได้อย่างรวดเร็ว
น้ำไม่ท่วมขัง
3. ลักษณะภูมิอากาศ ค่อนข้างแห้งแล้งปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า
1,000 มิลลิลิตร/ปี จะเหมาะสมมาก ถ้ามีฝนตกชุกควรไม่เกิน 1,500 มิลลิลิตร/ปี
เพราะนกกระจอกเทศไม่ชอบภูมิอากาศที่ชื้นแฉะและมีฝนตกชุกเกินไป ซึ่งจะทำให้ป่วย
4. ห่างไกลจากชุมชนและถนนใหญ่พอสมควรเพราะนกจะมีนิสัยตื่นตกใจง่าย
จึงควรเลี้ยงแบบอิสระ ห่างไกลจากเสียงรบกวน จะทำให้นกไม่เครียด
5. มีแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้และให้นกกระจอกเทศกินได้ตลอดปี
ชนิดของคอกและโรงเรือนเลี้ยงนกกระจอกเทศ
1. คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ – แม่พันธุ์
นกกระจอกเทศควรจะเลี้ยงแบบเป็นชุดประกอบด้วยนกกระจอกเทศเพศผู้
1 ตัวต่อแม่พันธุ์นกกระจอกเทศ 1 – 3 ตัว ซึ่งจะต้องมีโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับการผสมพันธุ์และวางไข่
โรงเรือน 1 หลังต่อ นกกระจอกเทศ 1 ชุด
คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ – แม่พันธุ์ จะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ
3 ส่วน คือ
1.1 โรงเรือน(Sheld) ส่วนประกอบจะต้องมีหลังคาซึ่งมีความสูงไม่น้อยกว่า
4 เมตร มีฝาผนัง 4 ด้าน มีประตูเข้าออก สามารถป้องกันแดด ลม พายุ ฝน ได้เป็นอย่างดี
ตัวโรงเรือนควรจะมีขนาดกว้างยาวประมาณ 8 * 10 เมตร ประตูเข้าออกควรจะมี 2
ด้าน ด้านหนึ่งสำหรับผู้เลี้ยงเข้า – ออก อีกด้านหนึ่งสำหรับนกกระจอกเทศเข้า
– ออก
สาเหตุที่มีประตู 2 ด้าน เพื่อเป็นการป้องกันนกกระจอกเทศไม่ให้เข้ามาทำร้ายขณะเก็บไข่ออกไปฟัก
ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์นกกระจอกเทศเพศผู้จะดูและหวงไข่ ต้องกันออกไปข้างนอกก่อนจึงจะเก็บไข่ได้
และในกรณีที่นกป่วยจะได้ขังไว้ในโรงเรือนทำให้สามารถจับนกทำการรักษาได้สะดวก
หรือในกรณีที่มีพายุฝนตกหนัก ควรจะปิดขังไม่ให้นกกระจอกเทศออกไปเล่นฝน ภายในโรงเรือนจะต้องประกอบด้วยรางน้ำรางอาหาร
พื้นของโรงเรือนควรจะเป็นพื้นดินอัดแน่นและปูทับด้วยทรายที่สะอาดให้มีความหนาไม่น้อยกว่า
6 นิ้วให้ทั่วโรงเรือนสำหรับนกกระจอกเทศเพศเมียจะทำหลุมวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์
1.2 พื้นที่อเนกประสงค์ พื้นที่
ควรจะเป็นที่ว่างมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า
1 ไร่ แต่พื้นที่ที่เหมาะสมควรจะมีพื้นที่ระหว่า ประมาณ 2 – 5 ไร่
ต่อนกกระจอกเทศ
1 ชุดผสมพันธุ์ (Trios) คือพ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 2 ตัว
ในกรณีพื้นที่
1 ไร่ ควรจะมีความกว้างยาวของพื้นที่คือ 32*50 เมตร
ที่กำหนดไว้เช่นนี้เนื่องจากนกกระจอกเทศชอบวิ่งเล่นหากความกว้างและความยาว
ต่ำกว่านี้จะเป็นอันตรายต่อนกกระจอกเทศ
เพราะมันจะวิ่งชนรั้วเนื่องจากหักเลี้ยวไม่ทัน
ขนาดความกว้างที่พอเหมาะสมคือ
60 * 100 เมตร นกจะอาศัยอยู่อย่างสบาย ออกกำลังอย่างเต็มที่
ซึ่งภายในบริเวณพื้นที่ควรจะปลูกพืชอาหารสัตว์ให้นกได้จิกกิน
ก็จะเป็นการดีต่อสุขภาพของนกกระจอกเทศ รั้วสำหรับคอกนกใหญ่
จะต้องสูงอย่างน้อย
1.8 เมตร แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาด้วยว่านกที่เลี้ยงเป็นประเภท
คอแดง คอดำ
หรือคอน้ำเงินเพราะความสูงจะแตกต่างกัน
1.3 รั้ว จะต้องมั่นคงแข็งแรงและทนต่อแรงเตะหรือแรงปะทะของนกกระจอกเทศเมื่อวิ่งมาชน
เพราะนกกระจอกเทศวิ่งเร็วอัตราเฉลี่ย 60 – 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมน้ำหนักของตัวนกอีกประมาณ
100 กิโลกรัม เป็นรั้วที่สามารถป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นเช่นสุนัขเข้าไปรบกวนนกกระจอกเทศได้
เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้นกกระจอกเทศเกิดความเครียดและตื่นตกใจ จะต้องไม่เป็นลวดหนาม
เพราะจะทำให้นกกระจอกเทศได้รับความบาดเจ็บและผิวหนังถูกรั้วขีดข่วน รั้วดังกล่าวควรจะเป็นลวดถักหรือลวดเส้นก็ได้
หัวมุมคอกควรจะทำให้โค้งหรือมน เพราะเวลานกกระจอกเทศวิ่งเข้าไปชนแล้วไม่รู้จักถอยออกมา
แต่ถ้าหากเป็นมุมฉากแล้วควรใช้ยางรถยนต์ไปปิดไว้เพื่อกันกระแทก เป็นการป้องกันการสูญเสียทางหนึ่งด้วย

2. โรงเรือนอนุบาลลูกนกกระจอกเทศ โรงเรือนที่ดีจะต้องปิดมิดชิด
สามารถป้องกันสัตว์ที่เป็นอันตรายแก่ลูกนก เช่น สุนัข แมว ได้เป็นอย่างดี
ภายในโรงเรือนควรแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ ที่สามารถใช้กกลูกนกได้ห้องละ 10
– 15 ตัวมีส่วนประกอบของเครื่องกก ได้แก่ ชุดให้ความอบอุ่นและแผงกั้น ตลอดจนชุดให้น้ำและอาหารแก่ลูกนกกระจอกเทศ
ห้องกกควรมีความกว้างยาวประมาณ 4 * 4 เมตร ซึ่งจะสามารถเลี้ยงลูกนกได้ โดยทั่วไปแม่นกจะทำการกกลูกนกอยู่ประมาณ
30 วัน จะใช้พื้นที่ภายในโรงเรือนประมาณ 1.20 ตารางเมตร/ตัว ซึ่งโรงเรือนอนุบาลไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่อเนกประสงค์
3. คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น สำหรับ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุระหว่าง
30 – 120 วันคอกเลี้ยงจะต้องแบ่งออกเป็น 2
ส่วนเช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ
– แม่พันธุ์ คือประกอบด้วยตัวโรงเรือนและพื้นที่เอนกประสงค์
พื้นที่ภายในโรงเรือนจะต้องใช้ขนาดเฉลี่ย
2 – 2.5 ตารางเมตร/ตัว
และพื้นที่อเนกประสงค์จะต้องใช้พื้นที่เฉลี่ย 20 ตารางเมตร/ตัว
การสร้างโรงเรือนจะแบ่งออกเป็นคอก ๆ โดยมีรั้วกั้นแบ่งพื้นที่ขนาด
10 * 25
เมตร ซึ่งจะสามารถเลี้ยงลูกนกได้ 10 – 15 ตัว
รั้วควรมีความสูงอย่างต่ำ 1.50
เมตร ใช้ตาข่ายชนิดตาเล็กถี่
หัวลูกนกกระจอกเทศไม่สามารถลอดออกมาได้
และต้องสามารถป้องกันสุนัขและแมวได้เป็นอย่างดี
ระยะห่างระหว่างรั้วไม่จำเป็นต้องมีเพราะนกวัยนี้ยังไม่ตีกันเพราะยังไม่ถึง
วัยผสมพันธุ์
รางน้ำและรางอาหารสามารถปรับระดับความสูงได้และจะต้องอยู่ภายในโรงเรือน
เพื่อป้องกันฝนและแสงแดดเพื่อความสะดวกในการกินอาหารของลูกนกและกระตุ้นความ
ต้องการกินอาหารของลูกนก
4. คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศฝูง สำหรับการเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุระหว่าง
4 – 14 เดือนนกกระจอกเทศวัยนี้อยู่ในระยะกำลังเติบโตเต็มที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย
เมื่อถึงอายุ 12 – 14 เดือนขึ้นไปจึงคัดเลือกส่งตลาดและคัดออกเป็นพ่อพันธุ์
แม่พันธุ์ และจัดกลุ่มผสมพันธุ์ในโรงเรือนเมื่อเลี้ยงได้อายุ 18 – 24 เดือนต่อไป
คอกสำหรับนกกระจอกเทศฝูงจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น
แต่พื้นที่ใช้สอยภายในโรงเรือนจะมากกว่า นกกระจอกเทศวัยนี้ต้องการพื้นที่ภายในโรงเรือนเฉลี่ย
10 ตารางเมตร/ตัว และพื้นที่อเนกประสงค์เฉลี่ย 250 ตารางเมตร/ตัว ควรจัดแบ่งฝูงฝูงละ
20 – 25 ตัว จะทำให้การจัดการง่าย โดยนกมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกันจะทำให้นกไม่รังแกทำร้ายกันมากนัก
การกินอาหารจะไม่ได้เปรียบและเสียเปรียบกัน และยังช่วยทำให้อัตราการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ
ดังนั้นโรงเรือนควรจะมีขนาด 10 * 20 เมตร หรือ 15 * 15 เมตร ภายในควรจะมีรางน้ำรางอาหารยาว
10 เมตร จึงจะเพียงพอ ส่วนพื้นที่อเนกประสงค์ควรจะมีขนาดกว้างยาว 50 * 100
เมตร มีต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาบ้างในตอนกลางวันสำหรับนกได้พักผ่อน การจัดผังคอกเช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกพ่อแม่พันธุ์
การวางแผนผังฟาร์ม การวางแผนผังฟาร์มขึ้นอยู่กับปัจจัยประกอบหลายประการ
แล้วแต่ขนาดของธุรกิจ ปริมาณนกกระจอกเทศพ่อ – แม่พันธุ์ ปริมาณนกที่จะเลี้ยงในขนาดต่าง
ๆ และพื้นที่ที่จะดำเนินการ แต่โดยทั่วไปแล้วควรจะเริ่มต้นจากธุรกิจเล็ก
ๆ ไปหาธุรกิจใหญ่ ปริมาณพื้นที่ดำเนินการที่มีอยู่เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการเลี้ยงนกกระจอกเทศ
การวางแผนผังฟาร์มเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการขยายกิจการต่อไป และการจัดสัดส่วนที่เหมาะสม
รวมถึงการควบคุมปริมาณนกกระจอกเทศในฟาร์มให้เหมาะสมกับพื้นที่
แผนผังฟาร์มโดยทั่วไปประกอบด้วย
1.ส่วนพื้นที่โรงเรือนกักโรค
2.ส่วนพื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ – แม่พันธุ์
3.ส่วนพื้นที่โรงเรือนฟักไข่
4.ส่วนพื้นที่โรงเรือนอนุบาลลูกนกกระจอกเทศ
5.ส่วนพื้นที่เลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น
6.ส่วนพื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศฝูง
7.ส่วนพื้นที่เก็บอาหารสัตว์และอุปกรณ์
8.ส่วนพื้นที่แปลงพืชอาหารสัตว์ อัตราส่วนของพื้นที่เลี้ยงนกกระจอกเทศ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศควรมีการเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศให้นกสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสบายพอสมควร
ซึ่งพื้นที่ที่ทำฟาร์มเลี้ยงควรมีพื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 1/3 ของพื้นที่ทั้งหมด
เป็นพื้นที่แปลงพืชอาหารสัตว์สำหรับสำรองใช้เลี้ยงนกกระจอกเทศซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี
สาหรับพื้นที่โรงเรือนควรจะมีอยู่ประมาณ 2/3 ของพื้นที่ทั้งหมดแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมอื่น
ๆ ด้วย
0 comments:
Post a Comment