การให้อาหารนกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศ เป็นสัตว์
ป่ามาก่อนที่จะนำมาเลี้ยงในระบบฟาร์ม
พืชจึงเป็นอาหารหลักของนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศจึงจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินพืช
(Herbivorus) แต่ก็ใช่ว่านกกระจอกเทศจะกินแต่พืชเพียงอย่างเดียว
แมลงต่าง
ๆ หนอนหรือสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ นกกระจอกเทศก็จิกกินเช่นกัน
เนื่องจากนกกระจอกเทศสามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในทุ่งหญ้าที่แห้งแล้ง
ไม่สมบูรณ์ สัตว์อื่น ๆ เช่น วัว หรือแกะอยู่ไม่ได้
แต่นกกระจอกเทศก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้
ทั้งนี้เพราะนกกระจอกเทศสามารถย่อยสลายสารอาหารที่มีกากใยได้สูง 47
– 60
%
กระเพาะของนกกระจอกเทศจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด
(Gizzard) เหมือนไก่ แต่ไม่มีกระเพาะพัก (Crop) และมีกระเพาะแท้ (Proventiculus)
เหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant) เช่น โค กระบือ เป็นต้น นกกระจอกเทศจึงสามารถย่อยอาหารที่มีกากใยได้เป็นอย่างดี
วิธีการให้อาหารลูกนกกระจอกเทศแรกเกิด
ลูกนกเกิดใหม่จะยังมีไข่แดงอยู่ใยช่องท้องซึ่งจะ
ใช้เวลา
3 – 4 วันเพื่อย่อยไข่แดงดังกล่าวนี้ ดังนั้น ในระยะ 3 – 4
วันแรกที่ลูกนกออกจากไข่จึงไม่จำเป็นต้องให้กินอาหาร
แต่อาจจะจัดทรายหยาบ หรือเกล็ดเล็ก ๆ
ขนาดเมล็ดข้าวสารตั้งไว้ให้นกกิน
แต่ต้องระวังอย่าให้กินมากเกินไปส่วนใหญ่จะนิยมนำอาหารและน้ำมาตั้งให้ลูกนก
กินหลังจากลูกนกออกจากตู้เกิดแล้ว
1 – 2 วัน
ในระยะแรกลูกนกจะยังไม่ให้ความสนใจที่จะสอนให้ลูกนกรู้จักที่ให้น้ำและอาหาร
ลูกนกอาจอดน้ำหรือได้จึงควรนำลูกปิงปองมาใส่ในภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเพื่อ
ให้ลูกนกสนใจและไปจิกกินอาหารและน้ำ
โดยทั่วไปแล้วลูกนกชอบอาหารที่มีรูปร่างแปลก ๆ และหญ้าสด
อาหารสำหรับลูกนกจะประกอบด้วย
พลังงาน 2,700 – 2,800 กิโลแคลอรี โปรตีน 20 % แต่มีเยื่อใยต่ำ
คือไม่เกิน
10 % อัตราส่วนของแคลเซียม (Ca) และฟอสฟอรัส(P) ต้องเหมาะสม
โดยอาจจะเสริมด้วยเปลือกหอยหรือกระดูกป่น
ลูกนกระยะนี้จะกินอาหารวันละประมาณ 10 – 20 กรัม และจะเพิ่มปริมาณขึ้นตามน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
ลูกนกจะต้องการอาหารข้นวันละ 1.5 – 3 % ของน้ำหนักตัว ลูกนกจะมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก
ซึ่งจะทำให้ขาที่มีขนาดเล็กรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ไหว อาจทำให้ลูกนกขาพิการได้
จึงควรจำกัดปริมาณอาหารและให้กินอาหารวันละ 2 – 4 ครั้ง โดยให้กินอาหารหมดภายใน
2 ชั่วโมง
หลังจากนั้นอาจให้พืชสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ลูกนกกินครั้งละน้อย
ๆ วันละ 3 – 4 ครั้ง โดยเลือกให้ลูกนกกินเฉพาะส่วนที่เป็นใบ เมื่อลูกนกอายุมากขึ้น
จะกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มากขึ้นถึง 20 % ของปริมาณอาหารข้น
ส่วนน้ำจะต้องมีให้กินตลอดเวลา โดยจะต้องเป็นน้ำที่ใส สะอาด
ภาชนะที่ใส่น้ำและอาหารจะต้องทำความสะอาดทุกวัน อาหารที่เหลือค้างอยู่ในรางจะต้องไม่นำกลับมาใช้อีก
และจะต้องระวังไม่ให้ลูกนกจิกกินอุจจาระที่ลูกนกถ่ายออกมาเพราะจะทำให้ท้องเสียหรือเป็นโรคอื่น
ๆ ได้จึงควรที่จะทำความสะอาด เก็บกวาดขี้นกออกทิ้งบ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วง
3 – 5 วันแรก
อาหารสำหรับลูกนกกระจอกเทศ (อายุ 0 – 3 เดือน)
ลูกนกในช่วงอายุ 3 เดือนแรกจะมีอัตราการตายสูงมากกว่าช่วงอายุอื่น
ๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการจัดการและอาหาร ดังนั้นเพื่อป้องกันการสูญเสียดังกล่าว
ผู้เลี้ยงจะต้องเองใจใส่ดูแลลูกนกเป็นอย่างดี น้ำ อาหารจะต้องเหมาะสมครบถ้วนตรงตามความต้องการของลูกนก
ในระยะนี้ลูกนกต้องการอาหารที่มีโปรตีน 20 %
พลังงาน 2,700
– 2,800 กิโลแคลอรี่ และมีพืชผักสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
ตั้งไว้ให้นกจิกกิน
ซึ่งในระยะสองสัปดาห์แรกจะให้ครั้งละน้อย ๆ
แล้วเพิ่มปริมาณของหญ้าสดตามอายุของลูกนกที่เพิ่มขึ้นหรืออาจจะปล่อยให้ลูก
นกลงไปจิกกันเองในแปลงปลูกหญ้าก็ได้
แต่แปลงหญ้านี้ต้องสะอาด ปราศจากยาฆ่าแมลง
หรือมีสิ่งแปลกปลอมตกหล่นอยู่
เช่น ตะปู ลวด กระดุม เศษพลาสติก เป็นต้น
เพราะนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ขี้สงสัยเห็นอะไรตกหล่นอยู่ก็จะจิกกิน
ซึ่งจะทำให้นกกระจอกเทศเป็นอันตรายได้ (Hardware Disease)
นอกจากนี้การปล่อยให้ลูกนกออกไปเดินเล่นกินหญ้าในแปลงหญ้า
จะทำให้ลูกนกได้ออกกำลังกาย ขาก็จะแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งจะได้รับวิตามินดี
(D3) จากแสงแดดอีกด้วย
อาหารสำหรับนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4
– 10 เดือน) ในระยะนี้ลูกนกกระจอกเทศต้องการอาหารที่มีพลังงาน 2,400
กิโลแคลอรี่ ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14 – 15 % และเยื่อใย 14 % และจะกินอาหารวันละ
1.5 – 2 กิโลกรัม
แต่เมื่อลูกนกอายุมากขึ้นน้ำหนักตัวที่เพิ่มจะอยู่ในอัตราที่ลดลงจึงทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเพิ่มสูงขึ้น
ขณะเดียวกันก็จะสามารถกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มากขึ้นด้วย
ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศในระยะนี้จะต้องการการดูแล
เอาใจใส่น้อยกว่าในระยะ
3 เดือนแรก แต่ก็ไม่ควรประมาทจนขาดความเอาใจใส่
โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพอาหารจะต้องตรงตามความต้องการและมีปริมาณที่เพียง
พอ
น้ำต้องใสสะอาด เสริมอาหารด้วยหญ้าหรือผักสด
หรือปล่อยให้นกกระจอกเทศไปจิกกินเองในแปลงหญ้าที่สำคัญต้องมีกรวดหินตั้งไว้
ให้นกกระจอกเทศด้วยเนื่องจากนกกระจอกเทศไม่มีฟันที่จะใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องหาสิ่งที่จะช่วยย่อยอาหารที่นกกระจอกเทศกินเข้าไป
ในสภาพธรรมชาตินกกระจอกเทศจะจิกกินก้อนกรวด ก้อนหิน
หรือทรายหยาบจากพื้นดินเพื่อไปช่วยบดอาหารในกึ๋น
ดังนั้น
การเลี้ยงในระบบฟาร์มก็จำเป็นจะต้องจัดหาหิน กรวด
หินเกล็ดเล็ก ๆ หรือเปลือกหอยป่น ตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศกิน
แต่จะต้องคอยสังเกตุด้วยว่าอย่าให้นกกระจอกเทศกินมากเกินไปจนทำให้ไปอุดตัน
ในระบบทางเดินอาหาร
อาหารสำหรับนกกระจอกเทศขุน (อายุ 11 – 14
เดือน)
นกกระจอกเทศที่อายุ 8 – 10 เดือน จะมีน้ำหนักตัวประมาณ
65 – 95 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ อาหารและการจัดการ ในบางแห่งจะซื้อขายกันที่น้ำหนัก
90 – 95 กิโลกรัม แค่บางแห่งเท่านั้นที่อาจจะต้องการที่น้ำหนัก 100 – 110
กิโลกรัม
อาหารที่นกกระจอกเทศระยะนี้ต้องการคือ มีพลังงาน 2,500
กิโลแคลอรี่ ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14 – 16 % และเยื่อใย 16% ระยะนี้นกกระจอกเทศจะกินอาหารวันละ
2.0 2.5 กิโลกรัม ทั้งนี้ หญ้าหรือพืชผักจะต้องมีให้กินหรือปล่อยในแปลงหญ้าก็ได้
และที่ขาดไม่ได้คือ น้ำสะอาดต้องมีให้กินตลอดเวลา
อาหารสำหรับนกกระจอกเทศพ่อ – แม่พันธุ์
(อายุ 14 เดือนขึ้นไป) อาหารที่ใช้เลี้ยงจะประกอบด้วย พลังงาน 2,400
– 2,600 กิโลแคลอรี ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14 % และเยื่อใย 16 %
ซึ่งการให้อาหารนกกระจอกเทศในช่วงนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
คือ
- ช่วงผสมพันธุ์ (Laying Period)
- นอกฤดูผสมพันธุ์ (Off Season)
นกกระจอกเทศในช่วงผสมพันธุ์จะมีความต้องการอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนสูงเพื่อใช้ในการสร้างไข่
ซึ่งถ้าอาหารดีตรงตามความต้องการจะทำให้ได้ไข่ที่มีเชื้อดีด้วย
นอกจากนี้จะต้องพิจารณาอัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัส
(Ca : P) โดยทั่ว ๆ ไป อัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสจะเท่ากับ 1 : 0.5
– 0.6 ถ้าในสูตรอาหารมีแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้ไปหยุดยั้งการทำงานของแมงกานีสและสังกะสี
ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการมีเชื้อของไข่
สำหรับอาหารนกกระจอกเทศนอกฤดูการผสมพันธุ์เป็น
อาหารที่กินเพื่อดำรงชีพเท่านั้น
จึงไม่จำเป็นต้องมีพลังงานมากนัก สามารถให้พืชหญ้าได้มาขึ้น
จนเมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์อีกจึงจะขุนนกกระจอกเทศให้มีร่างกายสมบูรณ์แต่ระวัง
อย่าให้อ้วนเกินไป
0 comments:
Post a Comment