Wednesday, June 5, 2013

ประวัตินกกระจอกเทศ

ประวัติการเลี้ยงนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศ OSTRICH (Struthio Camclus) เป็นนกขนาดใหญ่ที่สุดและบินไม่ได้มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอาฟริกาเป็นสัตว์ในตระกูล Struthionilac
ตัวผู้ เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงถึง 2.5 เมตร กึ่งหนึ่งเป็นความสูงของสำคอและศรีษะ หนักราว 155 กิโลกรัม
ตัวเมีย จะมีขนาดเล็กกว่า ไข่นกกระจอกเทศโดยเฉลี่ยแล้วมีความยาว 150 มิลลิเมตร หนัก 1.35 กิโลกรัม เป็นไข่ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
นกกระจอกเทศส่วนใหญ่จะมีขนสีดำ ส่วนหางและปีกเป็นขนสีขาว นกตัวเมียส่วนมากขนสีน้ำตาล ส่วนหัวมีสีชมพูและฟ้า มักเป็นขนอ่อน ส่วนขาไม่มีขน ศรีษะเล็ก จงอยปากสั้นและแบน ตาโตขนตามีสีน้ำตาลปนดำ
ธรรมชาติของนกกระจอกเทศชอบอยู่กันเป็นฝูงราว 5 – 50 ตัว กินพืชเป็นอาหาร ส่วนเท้ามีนิ้ว 2 นิ้ว แข็งแรงจนเป็นกีบ เมื่อตกใจหรือถูกรุกรานจากคนหรือสัตว์กินเนื้อจะวิ่งหนีได้ในอัตราความเร็ว ถึง 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในยามคับขันจะใช้เท้าเตะคู่ต่อสู้
ตั้งแต่ปีค.ศ.1950เป็นต้นมามีผู้ค้นคว้าพบว่าเนื้อนกกระจอกเทศเป็นเนื้อสัตว์ชนิดเดียวที่เทียบชั้นได้กับเนื้อวัว
ทั้งยังมีแคลลอรีไขมันและคลอเลสเตอรอลต่ำกว่า นับว่าเป็นข่าวสะเทือนวงการนักชิมทั้งหลาย ปัจจุบันสหรัฐอเมริกานำเข้าเนื้อนกกระจอกเทศปีละ 150,000 ตัวเป็นอย่างน้อยและในปี ค.ศ. 1992 นกกระจอกเทศสำรวจได้ทั่วโลกมีจำนวนเพียง 151,000 ตัว โดย 95 % อยู่ในอาฟริกาใต้
ตั้งแต่ ค.ศ. 1987 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาเริ่มทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีผสมเทียมจวบจนปี ค.ศ. 1995 มียอดแม่พันธุ์ 150,000 คู่และในแต่ละปีส่งนก 40 % คือราว 120,000 ตัวสู่ตลาด
แม้มูลค่าตลาดเนื้อและเครื่องหนังของสหรัฐอเมริกาแต่ละปีจะมีมูลค่าราว 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณนกกระจอกเทศที่สนองตลาดดังกล่าว จึงนับได้ว่าเป็นปริมาณเพียงน้อยนิดเท่านั้น นกกระจอกเทศที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกามีราคาปอนด์ละ 30 เหรียญสหรัฐ นับว่าเป็นเนื้อที่ราคาสูงมาก แต่ยังคงไม่สามารถสนองความต้องการของตลาดได้เพียงพอ ในรัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เนื้อนกกระจอกเทศมีจำหน่ายภัตาคารชั้นสูงเท่านั้น
นกกระจอกเทศที่คนทั่วไปคุ้นเคยก็คือพันธุ์อาฟริกาเหนือ S.C Camclus ซึ่งอาศัยอยู่ในมอรอคโคและซูดาน มีจำนวนไม่มากนัก
ส่วนพันธุ์ ซีเรีย S.C-Syriacusสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ ค.ศ. 1941 ซากหินนกกระจอกเทศถูกค้นพบที่ตอนใต้ของรัสเซีย อินเดียและตอนเหนือของประเทศจีน
นกกระจอกเทศมี 4 ชนิดคือแบ่งตามสีขนมีสีน้ำเงิน สีแดง ดำอาฟริกาและสีคล้ำใกล้เคียงกับดำอาฟริกา นกกระจอกเทศเมื่อแรกเกิดหนักราว 1.5 ปอนด์ สูง 10 – 12 นิ้ว เมื่อลูกนกครบเดือนจะสูงราว 1 ฟุต เมื่อลูกนกสูงได้ 5 – 6 ฟุต แล้วจึงชะลอการเติบโตในส่วนสูง นกที่โตเต็มที่สูงราว 7 – 10 ฟุต น้ำหนักสูงสุดราว 450 ปอนด์ โดยทั่วไปนกกระจอกเทศจะตกไข่เมื่ออายุ 3 ปี และสามารถออกไข่ไปจนถึงอายุ 50 ปี แต่ละปีจะให้ไข่ราว 30 –100 ฟอง นกกระจอกเทศปรับตัวได้ดีกับภูมิอากาศและอยู่ได้แม้ในเนื้อที่ขนาดเล็ก นก 1 คู่ หรือ 3 ตัว อยู่รวมกันใช้พื้นที่เพียง 1/3 เอเคอร์เท่านั้น
นกที่โตแล้วต้องการอาหารเพียงวันละ 4 ปอนด์ นกกระจอกเทศอาฟริกาเป็นนกที่มีราคาและไข่ดกกว่าชนิดอื่น ๆ แต่ถ้าเกิดตายไปผู้เลี้ยงก็สูญเสียมากเช่นกัน
สำหรับนกกระจอกเทศที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาเลี้ยงเป็นการค้าในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1.) พันธุ์คอแดง (Red Neck) ซึ่งพัฒนามาจากพันธุ์ S.Camssaicus และ S.massaicus นกกระจอกเทศนี้จะมีลักษณะผิวสีชมพูเข้มตัวผู้จะมีขนสีดำตลอดลำตัว ยกเว้นปลายหางและปลายปีกจะมีสีขาว ส่วนตัวเมียจะมีสีน้ำตาลเทา มีขนาดตัวใหญ่มาก สูง 2.00 – 2.50 เมตร น้ำหนัก 105 – 1 65 กิโลกรัม ให้ผลผลิตเนื้อมาก แต่ไข่น้อย ตัวผู้ค่อนข้างดุ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์
2.) พันธุ์คอน้ำเงิน (Blue Neck) พัฒนามาจากพันธุ์ S.molybdophanes S.australis พันธุ์นี้จะมีลักษณะผิวหนังสีฟ้าอมเทา สีขนจะเหมือนกับพันธุ์คอแดงแต่ตัวจะเล็กกว่าเล็กน้อย ให้เนื้อน้อยกว่าพันธุ์คอแดง แต่ให้ไข่มากกว่า
3.) พันธุ์คอดำ ( Black Neck หรือ African Black ) พัฒนามาจากพันธุ์ S.camelus, S.massaicus และ S.molybdophanes ลักษณะผิวหนังจะมีสีเทาดำ เท้าและปากสีดำ ตัวเล็ก ให้ผลผลิตเนื้อน้อย แต่ให้ไข่มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ และมีนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย พันธุ์คอดำ ถือเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถให้ไข่ได้มากถึง 80 ฟอง/ปี

0 comments:

Post a Comment